
หากร่างกายอ่อนแอจากการรักษามะเร็ง
ผลที่ตามมาอาจเกิดภาวะขาดสารอาหาร
ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง
ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร การรับรสชาติไม่เหมือนเดิม น้ำหนักลดลงทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจ และรู้สึกอ่อนเพลีย อาการเหล่านี้เป็นเพียงผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง
ดังนั้น ในสภาวะที่ร่างกายต้องต่อสู้กับช่วงเวลาดังกล่าว การได้รับพลังงาน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ อย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็น
สัญญาณแรกของการขาดสารอาหาร
- น้ำหนักลดลงโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ (ในช่วง 3 – 6 เดือนที่ผ่านมา)
- รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
- ไม่อยากอาหาร
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- รับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากมีอาการเจ็บในช่องปากและลำคอ ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นไส้
ภาวะโภชนาการเสียสมดุล อาจเกิดจาก...
- การรับรสชาติไม่เหมือนเดิม
- เยื่อบุช่องปากอักเสบ รู้สึกเจ็บเวลาเคี้ยว และ/หรือกลืนอาหาร
- คลื่นไส้ และ/หรืออาเจียน
- ระบบย่อยไม่ดี ท้องผูก หรือท้องเสีย
- หมดเรี่ยวแรง เหนื่อยอ่อน อ่อนล้า
- รู้สึกหดหู่
มองโลกในแง่ดีและทำตัวกระฉับกระเฉงเข้าไว้
บางครั้งการมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอก็เป็นเรื่องยาก แต่จิตใจที่เข้มแข็งเป็นกำลังใจสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
- พูดคุยกับเพื่อนๆ และครอบครัว บอกให้พวกเขารับรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร คุณกลัวอะไร พวกเขาพร้อมเป็นกำลังใจให้คุณเสมอ
- คุณควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเมื่อมีโอกาส เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน หรือออกกำลังกายในฟิตเนสเบาๆ ทุกวัน ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จิตใจแจ่มใส และช่วยให้ระบบย่อยของคุณทำงานได้ดี
- ความไว้วางใจระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การรักษานั้นได้ผล บุคคลากรทางการแพทย์ต่างก็มีความรู้และประสบการณ์ พร้อมให้คำแนะนำและตอบข้อสงสัยเรื่องอาการเจ็บป่วยและการรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม


เราจะช่วยทีน่าได้อย่างไร
การรักษาโรคมะเร็งนั้นทำให้ทีน่ารู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ แต่ในบางวันที่เธอรู้สึกแจ่มใส เธอก็อยากจะมีส่วนช่วยให้การรักษานั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นเธอจึงถามข้อมูลและขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อแก้ไขปัญหาอาการอ่อนล้าและน้ำหนักที่ลดลง
เมื่อทีน่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เธอก็สามารถรักษาน้ำหนักให้คงที่ได้ และเมื่อเธอได้รับพลังงานและสารอาหารมากขึ้นกว่าเดิม ร่างกายของเธอก็แข็งแรงมากพอที่จะตอบสนองการรักษาโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น