รู้จัก BCAAs

มากกว่าที่เคย

Scientific_Background

BCAAs สามารถสร้างกล้ามเนื้อจริงหรือไม่?

 

BCAA ย่อมาจาก “Branched Chain Amino Acids” หมายถึงโครงสร้างทางเคมีของ BCAAs ที่เป็นโซ่กิ่ง โดยประกอบด้วยวาลีน,ไอโซลิวซีน และ ลิวซีน

การรับประทาน BCAAs เสริมโดยเฉพาะลิวซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า BCAAs สามารถเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อได้ดี แต่หากได้รับกรดอะมิโนจำเป็นตัวอื่นๆไม่เพียงพอ ร่างกายจะสังเคราะห์โปรตีนได้ไม่ดีเท่าที่ควร

bcaa1.1
bcaa2

BCAAs ลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้

งานวิจัยบางตัวเปิดเผยว่า BCAAs สามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้

หากคุณรู้สึกเจ็บปวดกล้ามเนื้อ 1-2 วันหลังออกกำลังกายนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายรูปแบบใหม่ๆ อาการปวดนี้เรียกว่าการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย(DOMS) ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ 12 ถึง 24 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกายและสามารถอยู่ได้นานถึง 72 ชั่วโมง

การศึกษาหลายตัวแสดงให้เห็นว่า BCAAs ลดการสลายโปรตีนระหว่างออกกำลังกายและลดระดับของครีเอทีน ไคเนส ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเสียหายของกล้ามเนื้อ

ดังนั้นการเสริม BCAAs โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนออกกำลังกายอาจทำให้การฟื้นตัวของกล้ามเนื้อทำได้เร็วขึ้น

BCAAs ลดความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกาย

อาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียจากการออกกำลังกายในบางช่วง คุณอาจจะเหนื่อยเร็วเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงความหนักและระยะเวลาในการออกกำลังกายที่สภาพแวดล้อมต่างๆและโภชนาการรวมถึงระดับความฟิตของคุณ

ในระหว่างการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมีการใช้ BCAAs เกิดขึ้น ทำให้ระดับ BCAAs ในเลือดลดลง ระดับของกรดอะมิโนทริปโตเฟนในสมองของคุณจะเพิ่มขึ้น และทริปโตเฟนจะถูกเปลี่ยนเป็นเซโรโทนินซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่คิดว่ามีส่วนช่วยในการพัฒนาความเหนื่อยล้าในระหว่างการออกกำลังกาย

ในการศึกษาวิจัยสองครั้งผู้เข้าร่วมที่ได้รับ BCAAs พบว่าช่วยเพิ่มสมาธิในการออกกำลังกายซึ่งคิดว่าเป็นผลมาจากผลการลดความเมื่อยล้าของ BCAAs

bcaa3
bcaa4

ป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ

ร่างกายต้องการกรดอะมิโนชนิด BCAAs สูงถึง 35% ของกรดอะมิโนที่จำเป็น หรือคิดเป็น 40% ของกรดอะมิโนทั้งหมดที่ร่างกายต้องการ

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ BCAAs และกรดอะมิโนที่จำเป็นอื่น ๆ จะถูกเสริมทดแทนเพื่อหยุดยั้งหรือชะลอการลุกลามในเวลาที่เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อ

งานวิจัยหลายชนิดสนับสนุนการเสริม BCAAs เพื่อยับยั้งการสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยเรื่องสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคร้าย เช่น มะเร็ง

 

 

Reference :

Biochem J. 2007;407(1):113-120.

J Nutr. 2006 Jan;136(1 Suppl):274S-6S.

J Exerc Nutrition Biochem. 2013;17(4):169-180.

Amino Acids. 2017 Jul;49(7):1255-1262.